คำอธิบาย :
ความทรงจำเกิดขึ้น หายไป หรือถูกดัดแปลงได้อย่างไร?
อะไรทำให้บางคนลืมง่ายหรือจดจำบางอย่างได้ติดทนนาน?
คอร์สนี้เป็นการทำความเข้าใจความทรงจำซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของการรู้คิด การแบ่งแยกชนิดของความทรงจำรูปแบบต่าง ๆ กลไกการทำงานของจิตใจและสมองที่อยู่เบื้องหลังการจดจำได้ กลไกของการลืมและความจำเสื่อม การบิดเบือนความทรงจำด้วยการสร้างความจำปลอม เดจาวู อาหารและกิจกรรมที่ส่งเสริมให้สมองทำงานได้อย่างเป็นปกติและอาจส่งผลดีต่อการจดจำ ตลอดจนเทคนิควิธีการพื้นฐานที่แชมป์ความจำมักใช้ในการจดจำให้ได้เร็วและจดจำได้นาน
หมายเหตุ: คอร์สนี้ใช้วิธีการเรียนรู้ผ่านการฟังเสียงผู้สอน โดยมีภาพประกอบการฟัง
วิทยากร :
ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.อัครา เมธาสุข อาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.นฤพจน์ พุธวัฒนะ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาจารย์สกล โสภิตอาชาศักดิ์ อาจารย์ประจำคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ : นักศึกษา ครู อาจารย์ นักจัดกระบวนการ นักการศึกษา และผู้สนใจทั่วไป
ระยะเวลาอบรม : 3 ชั่วโมง 52 นาที (232.30 นาที)
เอกสารประกอบการอบรม : สมุดบันทึกกิจกรรม Classworks Memory