ผู้สอน


ชื่อ-นามสกุล
อาจารย์อิสรานุวัฒน์ ศรีคุณ
ตำแหน่ง
วิทยากรด้านกฎหมายและวิทยากรประจำสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์
ประสบการณ์การทำงาน และความเชี่ยวชาญ

- ผู้บรรยายวิชา น.385 ทักษะการปฏิบัติงานทางกฎหมายหลักสูตรชั้นปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้บรรยายในหลักสูตรด้านกฎหมายต่าง ๆ ของสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะทำงานพิจารณาศึกษาแนวทางการยกร่างกฎหมาย
- คณะกรรมมาธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร




ชื่อ-นามสกุล
คุณอรรถภูมิ บุณยเกียรติ
ตำแหน่ง
อดีตผู้อำนวยการสถาบันโบราณศิลป์
และบ้านพระครูติ
ประสบการณ์การทำงาน และความเชี่ยวชาญ

- ผู้เชี่ยวชาญวงการพระเครื่องมากกว่า 40 ปี
- ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะและวัฒนธรรมเกี่ยวกับวงการพระเครื่อง และประวัติความเป็นมาของพระเครื่อง
- อดีตบรรณาธิการผู้ช่วยหนังสือพระเครื่อง
“พุทโธ”และ “เซียนพระ”
- ผู้เขียนหนังสือคู่มือนักสะสมพระเครื่อง



Q&A

เรียนรู้พระเครื่องเบื้องต้น

คำอธิบาย :

วงการ “พระเครื่อง” เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านานและยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ปัจจุบันธุรกิจพระเครื่องเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งในกลุ่มของคนรุ่นใหม่และชาวต่างชาติ (จีน มาเลเซีย ไต้หวัน ฯ) ที่เริ่มมาเข้าสู่วงการและตลาดพระเครื่อง ไม่เพียงแค่เป็นความนิยมชมชอบในทางศิลปะเท่านั้น แต่ยังมาจากความเคารพและศรัทธาและถือเป็นสิ่งบูชาเพื่อเป็นที่พึ่งและยึดเหนี่ยวจิตใจ และมีอีกเป็นจำนวนมากที่พยายามเรียนรู้เพื่อยกระดับตัวเองไปสู่ “เซียนพระ”

หลักสูตรนี้เป็นการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน เพื่อทำความเข้าใจความเป็นมา และความรู้เกี่ยวกับวงการพระเครื่อง พระบูชา ตามหลักทางวิชาการโดยผู้เชี่ยวชาญจากวงการพระเครื่องที่มีประสบการณ์ในวงการพระมากกว่า 30 ปี

โดยสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หวังเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เรียนจะได้แนวคิดที่แฝงไว้ในพุทธบูชา และเข้าถึงแก่นแท้ของพุทธศิลป์มากขึ้น

หัวข้อ/เนื้อหา :   

  1. พระเครื่อง พระบูชา กับพระพุทธศาสนา
    – พระเครื่องสะท้อนความเป็นสังคมไทย ความเชื่อ ศรัทธา ค่านิยม
    – แนวคิดพระเครื่อง: เบื้องหลังแนวคิดที่แฝงไว้ในพระบูชา
    – พระเครื่องในหลักพระพุทธศาสนา: พระบูชาขัดแย้งกับแนวคิดของศาสนาพุทธหรือไม่
    – พระเครื่องในบริบทของชาวพุทธ: พระเครื่องอยู่ตรงไหนในแนวคิดแบบพุทธ
    – เซียนพระ: จากความชอบสู่ตลาดพระเครื่อง
  2. ประวัติศาสตร์วงการพระเครื่อง
    – 100 ปี ความศรัทธา: สู่ความนิยมในการแลกเปลี่ยนพระเครื่อง
    – วงการพระเครื่องมีวิวัฒนาการอย่างไร
    – จากกลุ่มนักสะสมวิวัฒนาการเป็นตลาดพระเครื่องได้อย่างไร
    – สรุปวิวัฒนาการวงการพระเครื่อง
  3. การจำแนกประเภทพระเครื่อง
    – วิธีส่องพระเครื่อง: เริ่มต้นส่องพระเครื่องอย่างถูกวิธี
    – การจัดกลุ่มพระเครื่อง: เข้าใจประเภทของเนื้อและกระบวนการสร้าง
    – การจำแนกพระเบญจภาคี: รู้จักสุดยอดพระเครื่องไทย 5 ชนิด
  4. การอนุรักษ์พระเครื่องในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม
    – พระเครื่องจำเป็นแค่ไหน
    – พระเครื่องกับการอนุรักษ์: สืบสานคุณค่าพระเครื่องในฐานะมรดกทางวัฒนธรรม

วิทยากร :

  • อาจารย์อิสรานุวัฒน์ ศรีคุณ
    อาจารย์ประจำสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • นายอรรถภูมิ บุณยเกียรติ
    อดีตผู้อำนวยการสถาบันโบราณศิลป์ และบ้านพระครูติ

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ :

  • กลุ่มผู้ที่เริ่มต้นศึกษาพระเครื่อง
  • กลุ่มที่สนใจและอยู่ในแวดวงพระเครื่อง
  • ประชาชน และผู้สนใจทั่วไป

ระยะเวลาอบรม : 1 ชั่วโมง

เนื้อหาเป็นเพียงเพื่อประกอบการศึกษาและการให้องค์ความรู้ภายในบทเรียนเท่านั้น
โปรดใช้วิจารณญาณในการศึกษาข้อมูลและรับชม

Current Status
Not Enrolled
Price
Free
Get Started

แชร์ตอนนี้ :

Facebook
Twitter
Email