คำอธิบาย :
การบริหารจัดการสื่อสารในภาวะวิกฤต สิ่งหนึ่งที่สำคัญของการเป็นผู้นำการสื่อสารต้องมีความรอบคอบ ฟังให้รอบด้าน ใช้ข้อมูลที่มีอยู่ให้เร็วที่สุด รู้ว่าจะสื่อสารเพื่ออะไร วัตถุประสงค์ใด โดยทำให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด หากเกิดข้อผิดพลาดต้องรีบหาทางแก้ไขให้เร็ว ชี้แจงให้ชัดเจน และลงมือทำทันที
รองศาสตราจารย์ ดร.ทวิดา กมลเวชช ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการภาวะวิกฤต แนะนำกลยุทธ์ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการการสื่อสารในภาวะวิกฤต จากประสบการณ์ตรงในการบริหารงานด้านนี้มาโดยเฉพาะ
สถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เล็งเห็นถึงความสำคัญในการบริหารจัดการภาวะวิกฤตสำหรับผู้บริหารหรือผู้นำองค์กร จึงได้จัดทำองค์ความรู้เรื่อง “บริหารจัดการการสื่อสารในภาวะวิกฤต กับ รองศาสตราจารย์ ดร.ทวิดา กมลเวชช” ผ่านชุดความรู้ในคอร์สที่ 2: การสื่อสารวิกฤตเบื้องต้นในภาวะวิกฤตและการบริหารจัดการสื่อสารสาธารณะ (Communication the Crisis) ให้ผู้เรียนได้เจาะลึกกรณีศึกษาในการจัดการภาวะวิกฤต และให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจ สามารถวางแผนอนาคตเมื่ออยู่ในสถานการณ์วิกฤต วางกลยุทธ์และวิธีการรับมือกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้น สามารถประเมินสถานการณ์และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และลดความเสียหายลงได้
วัตถุประสงค์ :
- เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจหลักการบริหารจัดการการสื่อสารในภาวะวิกฤต
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวางแผนอนาคต และดำเนินการสื่อสารในภาวะวิกฤตได้
- เพื่อให้ผู้เรียนเปิดมุมมองใหม่ ผ่านประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำแนวคิด วิธีการ และความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับสถานการณ์จริง ทั้งในสถานการณ์ในที่ทำงานและชีวิตประจำวัน
หัวข้อ/เนื้อหา : องค์ประกอบของการสื่อสารปกติ กับ การสื่อสารในภาวะวิกฤต: Regular Communication vs Crisis Communication
- 8 ขั้นตอนของกระบวนการสื่อสารในภาวะวิกฤต (1)
– Preparation and Planning: การเตรียมการและการวางแผน
– Early Detection and Monitoring: การตรวจจับและติดตาม - 8 ขั้นตอนของกระบวนการสื่อสารในภาวะวิกฤต (2)
– Initial Response: การตอบสนองเบื้องต้น
– Communicate with key Stakeholders: สื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก
– Ongoing Communication: การสื่อสารอย่างต่อเนื่อง - 8 ขั้นตอนของกระบวนการสื่อสารในภาวะวิกฤต (3)
– Resolution and Evaluation: ความละเอียดและการประเมินผล
– Recovery and Rebuilding Trust: การฟื้นฟูและการสร้างความไว้วางใจขึ้นมาใหม่
– Continuous Improvement: พัฒนาอย่างต่อเนื่อง - กรณีศึกษาการสื่อสารในภาวะวิกฤตจากสถานการณ์ในอดีต
วิทยากร :
- รองศาสตราจารย์ ดร.ทวิดา กมลเวชช
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ :
- นักเรียน / นักศึกษา
- ผู้บริหาร / หัวหน้างาน
- นักสื่อสารองค์กร นักข่าว
- ประชาชน และผู้สนใจทั่วไป
ระยะเวลาอบรม : 1 ชั่วโมง